ญี่ปุ่น (Japan)
ชื่อทางการ ญี่ปุ่น (Japan)
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย
หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก
หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด
45 องศา 33 ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ
โดยมีความยาวทั้งสิ้น 3,800 กิโลเมตร
พื้นที่ 378,00
ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 6,852 เกาะ
ภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นภูเขา
โดยร้อยละ 71 ของพื้นที่ทั้งหมดของญี่ปุ่นเป็นภูเขา
ในขณะที่มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 25
ซึ่งใช้เป็นพื้นที่ทางการเกษตรได้เพียงร้อยละ11 เท่านั้น
ญี่ปุ่นมีภูเขาไฟมากประมาณ 1 ใน 10 ของทั้งโลก
โดยมีภูเขาฟูจิเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ (3,776 เมตร)
และเป็นภูเขาไฟที่สงบอยู่แต่ยังไม่ดับ และจากการที่ญี่ปุ่นอยู่ในเขตที่มีภูเขาไฟมาก
ทำให้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเสมอ
ภูมิอากาศ ภูมิอากาศหลากหลาย
ทางตอนใต้ลักษณะอากาศเขตร้อน (Tropical) ทางตอนเหนือของประเทศอากาศเย็น มี 4 ฤดูหลัก
ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ
1.
ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม): อากาศอบอุ่น
2.
ฤดูร้อน (มิถุนายน-สิงหาคม): อากาศร้อนชื้นโดยมีช่วงฤดูฝนสั้นๆ ประมาณ 1 เดือน
ในช่วงต้นฤดู เเละร้อนจัดในช่วงสิงหาคม-กันยายน
3. ฤดูใบไม้ร่วง (ตุลาคม-พฤศจิกายน): อากาศอบอุ่น
โดยมีพายุไต้ฝุ่นมากในช่วงเดือนกันยายน
4.
ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์): อากาศหนาว มีหิมะตกโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศและฝั่งทะเลญี่ปุ่น
ส่วนทางใต้และฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อากาศจะอบอุ่นกว่า
เมืองหลวง กรุงโตเกียว
เวลา เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง
ประชากร ประมาณ 126.99 ล้านคน (ปี 2017)
ศาสนา ศาสนาใหญ่ๆ มี 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาชินโต
นอกจากนั้นได้แก่ ศาสนาคริสต์และลัทธิขงจื้อ สัดส่วนการนับถือศาสนามีดังนี้
ศาสนาชินโต 83.9% ศาสนาพุทธ 71.4% ศาสนาคริสต์ 2% อื่นๆ 7.8% (สัดส่วนรวมกันสูงกว่า 100%
เนื่องจากประชากรบางส่วนนับถือ 2 ศาสนา คือนับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาชินโต)
ภาษาราชการ ภาษาญี่ปุ่น
สกุลเงิน เยน (Yen) อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท = 3.45 เยน (ก.พ.2018)
วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดประจำชาติปี
2018 ได้แก่
1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่
2 มกราคม วันหยุดชดเชยวันปีใหม่
8 มกราคม วันบรรลุนิติภาวะ
21 มีนาคม วันวสันตวิษุวัต (วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ)
30 เมษายน วันโชวะ
3
พฤษภาคม วันที่ระลึกรัฐธรรมนูญ
4
พฤษภาคม วันสีเขียว
16 กรกฎาคม วันแห่งทะเล
17 กันยายน วันผู้สูงอายุ
24 กันยายน วันศารทวิษุภัค (วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง)
8 ตุลาคม วันแห่งกีฬาและสุขภาพ
23 พฤศจิกายน วันขอบคุณแรงงาน
24 ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา องค์สมเด็จพระจักรพรรดิ์
GDP (US$bn) 5,230.42
(ปี 2018F)
GDP Per Capita (US$) 41,550.88
(ปี 2018F)
GDP Growth (%) 0.45 (ปี 2018F)
Inflation (%) 0.62 (ปี 2018F)
เศรษฐกิจการค้า
ข้อมูลสำคัญ
26 ธ.ค. 56
นายชินโซะ อาเบะ นรม. ญี่ปุ่น ประกาศ นโยบายธนู 3 ดอก ธนูดอกที่หนึ่ง ได้แก่
นโยบายด้านการเงิน ซึ่งมีเป้าหมายให้อัตราเงินเฟ้อเป็นร้อยละ 2 ใน 2 ปี
ธนูดอกที่สอง ได้แก่ นโยบายด้านการคลัง โดยรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ตั้งงบประมาณให้ภาครัฐเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ธนูดอกที่สาม คือ ยุทธศาสตร์การเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยใช้แรงจากภาคเอกชนเป็นตัวผลักดัน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนส่วนที่
3 ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การส่งเสริมการลงทุนของเอกชน
3 ส.ค. 59 นายชินโซะ อาเบะ
ได้ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีอาเบะสมัย 3 เป็นครั้งที่ 2
โดยจะเน้นการแก้ไขปัญหาเงินฝืด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นอย่างเต็มที่
โดยปัจจัยสำคัญที่จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น
จะเป็นแรงซื้อจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวญี่ปุ่นจะยังมีนิสัยการเก็บออมเงินจากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นในอนาคต
ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จะทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีภาวะหนี้สินจำนวนมากขึ้นไปอีก
นโยบายเศรษฐกิจ
นโยบายธนู 3 ดอก (ใหม่) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้หลุดพ้นภาวะเงินฝืด
1.1 นโยบายทางการเงิน: การผ่อนคลายทางการเงิน
โดยการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบ เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นไปถึง 2% และ
1.2 นโยบายการคลัง:
การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของภาครัฐ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
สถานศึกษา สถานอนามัยเป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่ม GDP แล้ว
ยังเป็นการสร้างงานและเพิ่มการบริโภค (เป้าหมาย GDP
600 ล้านเยนในปี 2020)
1.3 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น
เพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยหลายมาตรการ เช่น 1) มาตรการเพิ่มจำนวนแรงงานในตลาด
เช่น การผลักดันแรงงานผู้หญิง และเพิ่มสถานเลี้ยงดูเด็กอ่อนเพื่อส่งเสริมผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงาน
โดยตั้งเป้าหมายลดอัตราว่างงานลงร้อยละ 20 ในปี 2019 2)
การลดอัตราภาษีนิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 3) การส่งเสริมและเพิ่มจำนวนธุรกิจระดับ SME ตั้งเป้าหมายการส่งออกโดย
SME เพิ่มขึ้นเป็น
2 เท่าของปี 2010 4) การปฏิรูปการศึกษา 5) การส่งเสริมการลงทุนในญี่ปุ่น
แนวโน้มเศรษฐกิจ
อานิสงส์จากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและภาคการส่งออกที่แข็งแกร่ง
รวมทั้งการอัดฉีดงบประมาณเพื่อการลงทุนของรัฐบาลญี่ปุ่น
เพื่อเตรียมเป็นเจ้าภาพมหกรรมการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ Olympics 2020 ส่งผลให้ BOJ ปรับคาดการณ์อัตราเติบโตเศรษฐกิจของปี 2018
สู่ระดับ 1.8% จากเดิมที่ระดับ 1.3% โดย BOJ ได้ระบุว่า
เศรษฐกิจกาลังเติบโตด้วยระดับปานกลาง
ยุทธศาสตร์/กิจกรรม
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งออกปี
2018
ส่งเสริมการใช้โอกาสจากนโยบาย
Creative Economy และ Digital Economy
1) ส่งเสริมการพัฒนาและจำหน่าย Thai Licensing Character ในห้าง Tokyo Hands
2) การเจรจาการค้าธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในตลาดญี่ปุ่น
3) คณะผู้แทนการค้าธุรกิจสิ่งพิมพ์ไปญี่ปุ่น
การพัฒนาและส่งเสริมสินค้าและธุรกิจเพื่อเจาะตลาดเฉพาะ
(Niche Market)
1) พัฒนาและส่งเสริมตลาดกลุ่มผู้สูงอายุปีที่ 5 และ Metroman
2) การจัดแสดงสินค้าที่ได้รับการพัฒนาในตลาดญี่ปุ่น (Pop Up Store)
3) Thai Brands Coaching Project in Japan
4) ความร่วมมือสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
5) พัฒนาและส่งเสริมสินค้านวัตกรรมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (T-Style)
การผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารผ่านการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในต่างประเทศ:
FOODEX Japan 2018
ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ
1) ASEAN-Japan Centre (AJC): Promoting Trade in
Creative Industries, Services Trade Promotion Capacity Building Workshop และ Promoting New Forms of Trade between Japan and ASEAN
2) The Japan External Trade Organization (JETRO Bangkok): การพัฒนาสินค้า/บริการโดยผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น
ตารางมูลค่าการค้ารวมของญี่ปุ่น
ในปี 2017 ญี่ปุ่นมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 1,369,801 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 698,367 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออก ได้แก่ ยานบกนอกจากรถที่เดินบนรางรถไฟหรือรางรถราง
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น ตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ
อาทิ ตลาดจีนสหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ เป็นต้น ด้านการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 671,434
ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อเพลิงที่ได้จากแร่
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นต้น โดยมีจีน สหรัฐอเมริกา
และออสเตรเลีย เป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญ |
การค้าระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศต่างๆของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ตารางประเทศคู่ค้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น 10 อันดับแรก
ปี 2017
ญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า 10 อันดับแรก ปี 2017 |
|||
ประเทศ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
+/- (%) |
ส่วนแบ่งตลาด (%) |
1.จีน |
35,166 |
16.61 |
25.69 |
2.สหรัฐอเมริกา |
18,560 |
3.56 |
13.56 |
3.เกาหลีใต้ |
14,562 |
43.45 |
10.64 |
4.ไต้หวัน |
12,962 |
-5.71 |
9.47 |
5.ฮ่องกง |
12,327 |
6.28 |
9.01 |
6.ไทย |
5,810 |
12.97 |
4.24 |
7.สิงคโปร์ |
4,847 |
5.65 |
3.54 |
8.เยอรมนี |
4,636 |
4.47 |
3.39 |
9.เวียดนาม |
4,216 |
26.48 |
3.08 |
10.เนเธอร์แลนด์ |
3,686 |
0.51 |
2.69 |
ที่มา: Global
Trade Atlas
การส่งออกชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น
ในปี 2017 ญี่ปุ่นส่งออกไปยังจีนมากเป็นอันดับ 1 โดยมีมูลค่า 35,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.69 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ
16.61 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นส่งออกไปยังจีน เช่น วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี
(Integrated
Circuit) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) เป็นต้น อันดับ 2 คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา
มูลค่า 18,560 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.56 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.56 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา
เช่น อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
และวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) เป็นต้น และอันดับ 3 คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นส่งออกไปยังเกาหลีใต้
มูลค่า 14,562 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.64 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 43.45 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นส่งออกไปยังเกาหลีใต้
เช่น วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า และตัวเก็บประจุไฟฟ้า
(CAPACITOR),Resistor เป็นต้น ในขณะที่ญี่ปุ่นส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังไทยมากเป็นอันดับที่
6 โดยมีมูลค่า 5,810 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.24 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ
12.97 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นส่งออกไปยังไทย เช่น
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) เป็นต้น
ตารางมูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น 10 อันดับแรก
สินค้า |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
||
2015 |
2016 |
2017 |
2017/2016 |
|
1.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) |
24,542 |
24,981 |
27,610 |
10.52 |
2.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า |
12,344 |
13,283 |
15,038 |
13.21 |
3.อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
12,098 |
11,320 |
11,611 |
2.57 |
4.ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ |
8,421 |
8,872 |
8,861 |
-0.12 |
5.ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) |
6,085 |
5,636 |
6,012 |
6.67 |
6.ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (CAPACITOR),Resistor |
5,028 |
5,236 |
5,912 |
12.91 |
7.ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ |
3,974 |
3,884 |
4,294 |
10.56 |
8.กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง
วีดีโออื่นๆ |
3,646 |
3,566 |
3,436 |
-3.65 |
9.วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) |
2,233 |
2,297 |
2,585 |
12.54 |
10.Power
supply PC |
1,727 |
1,821 |
2,027 |
11.31 |
รวมมูลค่าการส่งออกทั้งหมด |
117,881 |
124,041 |
136,873 |
10.35 |
ที่มา: Global Trade
Atlas
จากตารางมูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น 10 อันดับแรก พบว่า การส่งออกของญี่ปุ่นในปี 2017 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 136,873 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีการขยายตัวร้อยละ 10.35 ญี่ปุ่นส่งออกวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 มีมูลค่า 27,610 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.52 อันดับ 2 ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า โดยมีมูลค่าการส่งออก 15,038 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.21 และอันดับ 3 ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มูลค่าการส่งออก 11,611 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.57 เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มขึ้น
มูลค่าการนำเข้าของประเทศญี่ปุ่นกับประเทศต่างๆของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ตารางประเทศคู่ค้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น 10 อันดับแรก
ปี 2017
ญี่ปุ่นนำเข้าจากประเทศคู่ค้า 10 อันดับแรก ปี 2017 |
|||
ประเทศ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
+/- (%) |
ส่วนแบ่งตลาด (%) |
1.จีน |
63,821 |
3.91 |
51.33 |
2.ไต้หวัน |
13,257 |
13.98 |
10.66 |
3.สหรัฐอเมริกา |
9,180 |
1.99 |
7.38 |
4.ไทย |
6,806 |
27.56 |
5.47 |
5.มาเลเซีย |
5,382 |
20.64 |
4.33 |
6.เกาหลีใต้ |
5,331 |
10.62 |
4.29 |
7.เวียดนาม |
4,656 |
24.97 |
3.75 |
8.ฟิลิปปินส์ |
3,832 |
14.41 |
3.08 |
9.สิงคโปร์ |
2,879 |
41.24 |
2.32 |
10.เยอรมนี |
1,925 |
3.80 |
1.55 |
ที่มา: Global
Trade Atlas
จากตาราง ประเทศคู่ค้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น 10 อันดับแรก
ปี 2017 พบว่า ญี่ปุ่นนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากจีนมากเป็นอันดับ
1 มูลค่า 63,821 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 51.33 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.91 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากจีน
เช่น Mobile Telephone อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
และเครื่องคอมพิวเตอร์ ครบชุด,Notebook,palm เป็นต้น อันดับ 2 คือ ไต้หวัน ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากไต้หวัน
มูลค่า 13,257 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.66 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.98 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากไต้หวัน
เช่น วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง,ภาพ เป็นต้น และอันดับ 3 คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากสหรัฐอเมริกา
มูลค่า 9,180 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.38 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.99 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา
เช่น วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) เป็นต้น ในขณะที่ไทยเป็นประเทศอันดับ
4 ที่ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้า โดยมีมูลค่า 6,806 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.47 โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ
27.56 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทย เช่น Mobile Telephone อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
และวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) เป็นต้น
ตารางมูลค่าการนำเข้ารายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น
10 อันดับแรก
สินค้า |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
||
2015 |
2016 |
2017 |
2017/2016 |
|
1.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) |
16,966 |
17,025 |
19,507 |
14.58 |
2.Mobile
Telephone |
14,413 |
15,343 |
16,874 |
9.98 |
3.อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
13,023 |
13,164 |
13,421 |
1.95 |
4.เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด,Notebook,palm |
7,213 |
6,646 |
7,588 |
14.17 |
5.สายไฟ ชุดสายไฟ |
5,980 |
5,924 |
6,492 |
9.59 |
6.ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) |
5,791 |
5,854 |
6,086 |
3.96 |
7.อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่งหรือการรับ เปลี่ยนเสียง ภาพ
หรือ ข้อมูลต่างๆ |
5,129 |
5,057 |
5,609 |
10.92 |
8.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า |
4,728 |
4,846 |
5,391 |
11.25 |
9.ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ |
7,593 |
5,927 |
5,210 |
-12.10 |
10.เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์
เครื่องเรดาห์ |
2,261 |
2,077 |
2,165 |
4.24 |
รวมมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด |
116,064 |
114,296 |
124,325 |
8.77 |
ที่มา: Global Trade
Atlas
จากตารางมูลค่าการนำเข้ารายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น 10
อันดับแรก พบว่า
ในปี 2017 ญี่ปุ่นมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม
124,325 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ
8.77
โดยนำเข้าวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี
(Integrated
Circuit) มากเป็นอันดับ 1 มีมูลค่า 19,507
ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 14.58 สินค้าที่ญี่ปุ่นนำเข้าอันดับ
2 ได้แก่ Mobile Telephone โดยมีมูลค่า 16,874 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ
9.98
และสินค้าที่ญี่ปุ่นนำเข้าอันดับ 3 ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีมูลค่า 13,421
ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.95
ญี่ปุ่น
มีการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศต่างๆ เพื่อส่งออกต่อไปยังจีน
สหรัฐอเมริกา รวมถึงมีการนำเข้าชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปและส่งออกไปยังต่างประเทศ
ตารางมูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปยังญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
|||
2015 |
2016 |
2017 |
2016 |
2017 |
|
1.เครื่องโทรศัพท์ และอุปกรณ์ |
56.14 |
177.26 |
964.83 |
215.75 |
444.30 |
2.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) |
566.77 |
568.98 |
654.62 |
0.39 |
15.05 |
3.เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ |
558.85 |
485.83 |
457.36 |
-13.07 |
-5.86 |
4.อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
311.63 |
322.56 |
308.71 |
3.51 |
-4.29 |
5.สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ |
319.71 |
291.62 |
294.21 |
-8.79 |
0.89 |
6.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า |
244.82 |
272.73 |
273.15 |
11.40 |
0.15 |
7.กล้องถ่ายบันทึกภาพและส่วนประกอบ |
218.09 |
178.95 |
207.56 |
-17.95 |
15.99 |
8.ตู้เย็น |
215.96 |
206.85 |
197.74 |
-4.22 |
-4.40 |
9.แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า |
135.47 |
148.18 |
193.73 |
9.38 |
30.74 |
10.เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น |
206.42 |
177.7 |
184.2 |
-13.91 |
3.66 |
รวมมูลค่าการส่งออกทั้งหมด |
5,465.00 |
5,413.33 |
6,365.59 |
-0.95 |
17.59 |
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ )E&E Intelligence Unit: EIU)
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
จากตารางมูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปยังญี่ปุ่น
10 อันดับแรก แสดงให้เห็นว่า ในปี 2017 ไทยส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังญี่ปุ่น
คิดเป็นมูลค่าส่งออกทั้งหมด 6,365.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 17.59 โดยสินค้าส่งออกอันดับ 1 ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์
และอุปกรณ์ มีมูลค่าการส่งออก 964.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวมากถึงร้อยละ 444.30 สินค้าส่งออกอันดับ
2 ได้แก่ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) มีมูลค่าการส่งออก 654.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 15.05 และสินค้าส่งออกอันดับ 3
ได้แก่ เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ มีมูลค่าการส่งออก 457.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการหดตัวร้อยละ 5.86
ซึ่งลักษณะการส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นเป็นการส่งออกชิ้นส่วนเพื่อเข้าสู่กระบวนการเพิ่มมูลค่าสินค้าต่อไป
สินค้าหลักไทยนำเข้าจากตลาดญี่ปุ่น ปี 2557
ตารางมูลค่าการนำเข้ารายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
10 อันดับแรกที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
|||
2015 |
2016 |
2017 |
2016 |
2017 |
|
1.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) |
1,369.98 |
1,406.00 |
1,761.20 |
2.63 |
25.26 |
2.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า |
533.30 |
564.83 |
597.63 |
5.91 |
5.81 |
3.ส่วนประกอบของเครื่องอุปกรณ์สำหรับการส่งหรือการรับเสียง
ภาพ |
37.14 |
97.72 |
551.3 |
163.11 |
464.16 |
4.แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า |
292.60 |
277.36 |
346.15 |
-5.21 |
24.80 |
5.ตลับลูกปืนเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ |
307.22 |
302.16 |
324.91 |
-1.65 |
7.53 |
6.ไดโอด ทรานซิสเตอร์ กลอุปกรณ์กึ่งตัวนํา |
420.00 |
419.15 |
320.60 |
-0.20 |
-23.51 |
7.เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ |
320.76 |
296.75 |
304.43 |
-7.49 |
2.59 |
8.ตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor), ตัวต้านทานไฟฟ้า |
245.55 |
271.81 |
301.62 |
10.69 |
10.97 |
9.กล้องถ่ายบันทึกภาพและส่วนประกอบ |
140.76 |
182.68 |
220.79 |
29.78 |
20.86 |
10.มอเตอร์ไฟฟ้า |
157.03 |
170.03 |
179.39 |
8.28 |
5.50 |
รวมมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด |
6,153.72 |
6,298.38 |
7,084.92 |
2.35 |
12.49 |
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ )E&E Intelligence Unit: EIU)
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลการค้า-การลงทุน
การส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้วางแผนการส่งเสริมการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ในปี 2560-2564 โดยมีนโยบาย ดังนี้
(1) การเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้นักธุรกิจญี่ปุ่น
(2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ
(Hardware)
(3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎระเบียบ
(Software)
(4) การพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์
(5) การสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
(6) การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรรองรับการลงทุนและความต้องการด้านแรงงานในภาคการผลิต
(ทั้งในด้านปริมาณและทักษะของญี่ปุ่น)
(7) การส่งเสริมการลงทุนของ SMEs ญี่ปุ่นในประเทศไทย
(8) การดึงดูดการลงทุนจากญี่ปุ่นใน 10
อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย และในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก เพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย
4.0
(9) การสร้างความร่วมมือกับญี่ปุ่นในการใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน/กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(10) ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยช์ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง
(11) ส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพของญี่ปุ่น
การส่งออก
ญี่ปุ่นจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรประเภทผักสดและผลไม้
ทำให้การขยายการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังญี่ปุ่นมีข้อจำกัดมาก
โดยกำหนดว่าต้องผ่านการตรวจสอบสารพิษตกค้างจากกรมวิชาการเกษตร
ก่อนส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น สำหรับพืชผักผลไม้ที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้นำเข้า ได้แก่
- ผักสด 21 ชนิด
ได้แก่ คื่นช่าย คะแยง กะหลํ่าใบ คะน้า ยี่หร่า ส้มป่อย/ชะอม ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว
ผักชี โหระพา ใบกะเพรา ใบสะระแหน่ ใบบัวบก ใบแมงลัก ใบมะกรูด แพรว ถั่วลันเตา
ตะไคร้ ผักเป็ด กระเจี๊ยบเขียว และผักกระเฉด
- ผลไม้สด 9 ชนิด
ได้แก่ ทุเรียน กล้วย สับปะรด มะพร้าว มังคุด สละ มะขาม ส้มโอ (พันธุ์ทองดี)
และมะม่วง (7 พันธุ์ คือ มหาชนก แรด หนังกลางวัน พิมเสน นํ้าดอกไม้ เขียวเสวย
และโชคอนันต์)
มีการควบคุมปริมาณการนำเข้า โดยกำหนดโควตาภาษีสำหรับสินค้าเกษตร เช่น
แป้งมันสำปะหลัง ข้าว สับปะรดกระป๋อง เป็นต้น และสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ยางสังเคราะห์
ผ้าทอจากไหม รองเท้า เป็นต้น
หลักเกณฑ์การได้แหล่งกำเนิดสะสม (Accumulation rules) ภายใต้ GSP ค่อนข้างเข้มงวด
และยุ่งยาก ไม่สอดคล้องกับรูปแบบการผลิตสินค้าในปัจจุบัน
นโยบายการส่งเสริมการลงทุน
ทางการญี่ปุ่นได้จัดตั้ง Invest Japan Office ขึ้นในสำนักงานในภูมิภาคของกระทรวง METI เพื่อบริการ แก่ผู้ลงทุน โดย การสนับสนุนให้คำปรึกษา บริการข้อมูล และช่วยเหลือในการขอรับใบอนุญาต นอกจากนี้ ได้แปลข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบวิธีการลงทุนในญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ และจัดตั้ง Contact point ใน Japan External Trade Organization หรือ JETRO ซึ่งมีสำนักงานในจังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่น และต่างประเทศรวมทั้งไทย เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น
สิทธิประโยชน์
หน่วยงานรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นมีการพิจารณาสิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนไทยในญี่ปุ่น เช่น สิทธิพิเศษทางด้านภาษี หรือบริการสนับสนุนจากสำนักงาน Invest Japan Business Support Center (IBSC) ของเจโทร เช่น การให้พื้นที่สำนักงานชั่วคราวในประเทศญี่ปุ่นฟรี แนะนำบริการสรรหาบุคลากร แนะนำเรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน และเรื่องการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท สำหรับอัตราภาษีในระดับสูง รัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจต่างชาติบางประเภทในญี่ปุ่น
ทั้งนี้ การลงทุนในญี่ปุ่นนั้นมีต้นทุนไม่สูงหากนักธุรกิจเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่เหมาะสม อาทิ เทคโนโลยี แฟชั่น หรือสินค้าประเภทไลฟ์สไตล์ โดยสามารถขายสินค้าและบริการให้แก่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีกำลังซื้อสูง และสามารถส่งออกหรือขายแฟรนไชส์ธุรกิจให้ต่างประเทศทั่วโลก โดยจะได้รับความเชื่อมั่นว่าสินค้ามีคุณภาพดีเพราะมาจากสำนักงานขายในญี่ปุ่น ทั้งยังไม่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยอีกด้วย
อัตราภาษีต่างๆของญี่ปุ่น
ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Tax) ของญี่ปุ่น
ประเภทบริษัท
เงินลงทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน รายได้น้อยกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 22%
เงินลงทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน รายได้มากกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 30%
เงินลงทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน รายได้ไม่กำหนด อัตราภาษี 30%
ภาษีในการทำธุรกิจ (Local Business Tax)
เงินทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน หรือรายได้น้อยกว่า 2,500,000 เยน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax)
รายได้ 1,000-1,949,000 เยน อัตราภาษี 5% จำนวนเงินลดหย่อน 0 เยน
รายได้ 1,950,000-3,299,000 เยน อัตราภาษี 10% จำนวนเงินลดหย่อน 97,500 เยน
รายได้ 3,300,000-6,949,000 เยน อัตราภาษี 20% จำนวนเงินลดหย่อน 427,500 เยน
รายได้ 6,950,000-8,999,000 เยน อัตราภาษี 23% จำนวนเงินลดหย่อน 636,000 เยน
รายได้ 9,000,000-17,999,000 เยน อัตราภาษี 33% จำนวนเงินลดหย่อน 1,536,000 เยน
รายได้ มากกว่า 18,000,000 เยน อัตราภาษี 40% จำนวนเงินลดหย่อน 2,796,000 เยน
หมายเหตุ: เงินลดหย่อน ได้แก่ เงินค่าประกันชีวิต เงินค่าประกันสุขภาพ เงินค่าบำนาญ เป็นต้น
ภาษีบริโภค (Consumption Tax) อัตราภาษี 5%
บรรณานุกรม
กรมการค้าต่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.dft.go.th
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.ditp.go.th
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.dtn.go.th
Global Trade Atlas.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.gtis.com/gta
สถาบันศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
http://www.apecthai.org
ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU).(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
eiu.thaieei.com
เลขที่ 57 ชั้น 6 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ถนน พระสุเมรุ (บางลำภู) เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : (66) 02-280-7272
Fax : (66) 02-280-7277, (66) 02-280-7273ที่ 57 ชั้น 6 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ติดต่อเรา