ุพื้นที่ 7,682,300 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง แคนเบอร์รา
(Canberra)
เมืองสำคัญ ซิดนีย์ เมลเบิร์น เพิร์ธ บริสเบน แอดิเลด
โฮบาท และดาวิน
ประชากร 25.20 ล้านคน (ม.ค.2020)
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
อัตราแลกเปลี่ยน 1
ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) = 23.72 THB (มี.ค.2021)
ศาสนา โปรเตสแตนต์ 30.1% โรมันคาธอลิค 25.3%
ไม่มีศาสนา 22.3%
ไม่สามารถระบุได้
9.3% คริสต์นิกายอื่นๆ 2.9% ออร์โธดอกซ์ 2.8% พุทธ 2.5% มุสลิม 2.2% ฮินดู 1.3%
อื่นๆ 1.3%
ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ
ประมุข HM
Queen Elizabeth II
นายกรัฐมนตรี The
Honorable Scott Morrison
GDP (US$bn) 1,480.35 (ปี 2021F)
GDP Per Capita (US$) 57,210.82 (ปี 2021F)
GDP Growth (%) 2.95
(ปี 2021F)
Inflation (%) 1.34 (ปี 2021F)
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
หินแร่
ถ่านหิน สินแร่เหล็ก ทองแดง ดีบุก ทอง เงิน นิกเกิล แร่ธาตุ
นโยบายเศรษฐกิจ
- รัฐบาลประกาศงบประมาณรายจ่ายประจำปี
2563-2564 แบบขาดดุล 184 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย
เป็นจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และมีหนี้ภาครัฐสูงถึง
850 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินเพื่อเยียวยาผลกระทบ
COVID-19 แต่ออสเตรเลียยังถือว่ามีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP
ที่ต่ำ
- ออสเตรเลียและไทยร่วมลงนามใน
Joint Declaration on the Strategic Partnership ยกระดับการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ทั้งด้านการเมือง
ความมั่นคงปลอดภัย เศรษฐกิจการค้า และความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและออสเตรเลียมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
- ออสเตรเลียลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) มีจำนวนประชากรประมาณ
30% ของประชากรโลกและมีสัดส่วนตลาดถึง 30% ของ GDP โลก และเมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้จะเป็นการขยายโอกาสทางการค้า
(สินค้าและบริการ) และการลงทุนระหว่างออสเตรเลียและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากยิ่งขึ้น
- ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอยู่ที่
0.1% เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้แก่ประชาชนและกระตุ้นการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยและปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี
2563 คาดว่าจะหดตัว 3.75% อัตราการว่างงาน
8%
แนวโน้มเศรษฐกิจ
- สำนักงานสถิติออสเตรเลีย
รายงานว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ขยายตัว
3.31% สูงกว่าการคาดหมายที่ 2.5% โดยนักเศรษฐศาสตร์ได้แสดงความเห็นว่ามีเครื่องชี้หลายประการ
ไม่ว่าจะเป็นการ เติบโตทางเศรษฐกิจ ตลาดแรงงาน การใช้จ่ายภาคค้าปลีก และตลาดที่อยู่อาศัย
ที่บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวจะดำเนินไปในรูปแบบตัว ‘V’ พร้อมคาดหมายว่าเศรษฐกิจปี
2564 จะขยายตัว 4.2% ทั้งนี้ เศรษฐกิจออสเตรเลียขยายตัวได้ดีกว่าประเทศ
อุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะอัตราการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำ
อีกทั้งทางการยังจัดทำมาตรการกระตุ้นทั้งทางการเงินและการคลังขนานใหญ่ในเวลาที่เหมาะสม
- ในปี 2563
ธนาคารกลางออสเตรเลียได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 0.1% ซึ่งต่ำเป็นประวัติการณ์
เพื่อบรรเทาภาวะช็อกทางเศรษฐกิจสืบเนื่องจากการชัตดาวน์ เพื่อควบคุมไวรัส
อีกทั้งยังจัดทำมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ในจำนวนที่ไม่เคยทำมาก่อน
อีกทั้งยังมีโครงการพักชำระหนี้บ้านและลดดอกเบี้ย เพื่อเปิดทางให้ผู้คนมากู้เงินไปบรรเทาผลกระทบโควิด-19
ตาราง
มูลค่าการค้ารวมของออสเตรเลีย
การค้า |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
|||
2018 |
2019 |
2020 |
2019/2018 |
2020/2019 |
|
การส่งออก |
257,098 |
270,982 |
250,475 |
5.40 |
-7.57 |
การนำเข้า |
227,012 |
213,750 |
202,920 |
-5.84 |
-5.07 |
การค้ารวม |
484,110 |
484,732 |
453,395 |
0.13 |
-6.46 |
ที่มา: Global Trade Atlas
ในปี 2020 ออสเตรเลียมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม
453,395 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยแบ่งออกเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 250,475 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าส่งออก ได้แก่ สินแร่ ตะกรันและเถ้าเชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่ สารบิทูมินัส
และไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ เป็นต้น ตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ
อาทิ ตลาดจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น ด้านการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 202,920 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ยานบกนอกจากรถที่เดินบนรางรถไฟหรือรางรถราง เป็นต้น โดยมีจีน
สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญ
ตาราง
ประเทศคู่ค้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย 10 อันดับแรก ปี 2020
ออสเตรเลียนำเข้าจากประเทศคู่ค้า 10
อันดับแรก ปี 2020 |
|||
ประเทศ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
ส่วนแบ่งตลาด (%) |
+/- (%) |
1.จีน |
19,982 |
54.47 |
4.58 |
2.สหรัฐอเมริกา |
2,728 |
7.44 |
-10.16 |
3.เวียดนาม
|
1,765 |
4.81 |
1.08 |
4.ไทย |
1,563 |
4.26 |
16.09 |
5.มาเลเซีย |
1,377 |
3.76 |
-12.97 |
6.เยอรมนี |
1,092 |
2.98 |
-1.39 |
7.ไต้หวัน |
844 |
2.30 |
-9.72 |
8.เกาหลีใต้ |
829 |
2.26 |
-1.44 |
9.ญี่ปุ่น |
669 |
1.82 |
-13.37 |
10.เม็กซิโก |
630 |
1.72 |
-0.60 |
ที่มา: Global Trade Atlas
จากตาราง ประเทศคู่ค้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย 10 อันดับแรก ปี 2020 พบว่า ออสเตรเลียนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากจีนมากเป็นอันดับ 1 มูลค่า 19,982 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดมากถึงร้อยละ 54.47 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียนำเข้าจากจีน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด,Notebook,palm Mobile Telephone และอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อันดับ 2 คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากสหรัฐอเมริกา มูลค่า 2,728 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.44 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา เช่น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่งหรือการรับ เปลี่ยนเสียง ภาพ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น และอันดับ 3 คือ เวียดนาม ออสเตรเลียนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากเวียดนาม มูลค่า 1,765 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.81 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียนำเข้าจากเวียดนาม เช่น Mobile Telephone เครื่องรับโทรทัศน์สี และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่ไทยเป็นประเทศอันดับ 4 ที่ออสเตรเลียนำเข้าสินค้า โดยมีมูลค่า 1,563 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.26 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียนำเข้าจากไทย เช่น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า และตู้เย็นใช้ตามบ้านเรือน เป็นต้น
ตาราง มูลค่าการนำเข้ารายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย
10 อันดับแรก
สินค้า |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
||
2018 |
2019 |
2020 |
2020/2019 |
|
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด,Notebook,palm |
4,351 |
4,098 |
4,508 |
10.00 |
2.Mobile Telephone |
4,339 |
4,069 |
3,945 |
-3.05 |
3.อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
4,148 |
3,744 |
3,771 |
0.72 |
4.อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่งหรือการรับ
เปลี่ยนเสียง ภาพ |
3,507 |
3,391 |
3,416 |
0.74 |
5.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า |
1,616 |
1,590 |
1,547 |
-2.70 |
6.ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ |
1,631 |
1,507 |
1,232 |
-18.25 |
7.Power supply PC |
946 |
921 |
1,054 |
14.44 |
8.ลำโพงขยายเสียง ไมโครโฟน ชุดเครื่องขยายเสียง |
828 |
949 |
1,046 |
10.22 |
9.เครื่องรับโทรทัศน์สี |
1,105 |
1,035 |
1,003 |
-3.09 |
10.ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) |
755 |
702 |
694 |
-1.14 |
รวมมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด |
38,311 |
36,365 |
36,682 |
0.87 |
ที่มา: Global Trade Atlas
จากตารางมูลค่าการนำเข้ารายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย 10 อันดับแรก พบว่า ในปี 2020 ออสเตรเลียมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 36,682 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 0.87 โดยนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด,Notebook,palm มากเป็นอันดับ 1 มีมูลค่า 4,508 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10 สินค้าที่ออสเตรเลียนำเข้าอันดับ 2 ได้แก่ Mobile Telephone โดยมีมูลค่า 3,945 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการหดตัวร้อยละ 3.05 และสินค้าที่ออสเตรเลียนำเข้าอันดับ 3 ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีมูลค่า 3,771 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 0.72
ตาราง
ประเทศคู่ค้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย 10 อันดับแรก ปี 2020
ออสเตรเลียส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า
10 อันดับแรก ปี 2020 |
|||
ประเทศ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ) |
ส่วนแบ่งตลาด (%) |
+/- (%) |
1.นิวซีแลนด์ |
1,229 |
29.81 |
5.86 |
2.สหรัฐอเมริกา |
527 |
12.78 |
-11.25 |
3.ฮ่องกง |
297 |
7.20 |
-30.10 |
4.จีน |
234 |
5.69 |
-25.93 |
5.สิงคโปร์ |
217 |
5.26 |
-41.55 |
6.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
144 |
3.49 |
-8.50 |
7.สหราชอาณาจักร |
141 |
3.43 |
2.24 |
8.ปาปัวนิวกินี |
124 |
3.01 |
-8.01 |
9.เยอรมนี |
106 |
2.58 |
41.08 |
10.เนเธอร์แลนด์ |
85 |
2.07 |
-24.24 |
ที่มา: Global Trade Atlas
การส่งออกชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย
ในปี 2020 ออสเตรเลียส่งออกไปยังนิวซีแลนด์มากเป็นอันดับ 1 โดยมีมูลค่า 1,229 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 29.81 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียส่งออกไปยังนิวซีแลนด์
เช่น Mobile Telephone เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด,Notebook,palm และอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อันดับ 2 คือ สหรัฐอเมริกา
ออสเตรเลียส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา มูลค่า 527 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.78 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา
เช่น อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่งหรือการรับ
เปลี่ยนเสียง ภาพ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น และอันดับ
3 คือ ฮ่องกง ออสเตรเลียส่งออกไปยังฮ่องกง มูลค่า 297 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.20 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียส่งออกไปยังฮ่องกง เช่น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่งหรือการรับ
เปลี่ยนเสียง ภาพ Mobile Telephone และกล้องถ่ายโทรทัศน์
กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ เป็นต้น ในขณะที่ออสเตรเลียส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังไทยมากเป็นอันดับที่
12 โดยมีมูลค่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.83 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออสเตรเลียส่งออกไปยังไทย
เช่น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่งหรือการรับ เปลี่ยนเสียง ภาพ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
และอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ตาราง มูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย
10 อันดับแรก
สินค้า |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
||
2018 |
2019 |
2020 |
2020/2019 |
|
1.Mobile Telephone |
446 |
631 |
577 |
-8.56 |
2.อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
498 |
479 |
426 |
-11.06 |
3.เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด,Notebook,palm |
392 |
427 |
420 |
-1.64 |
4.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า |
423 |
422 |
415 |
-1.66 |
5.อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการส่งหรือการรับ
เปลี่ยนเสียง ภาพ |
359 |
382 |
368 |
-3.66 |
6.ลำโพงขยายเสียง ไมโครโฟน ชุดเครื่องขยายเสียง |
136 |
298 |
207 |
-30.54 |
7.ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์(สายอากาศ,ตู้วิทยุหรือโทรทัศน์) |
145 |
128 |
117 |
-8.59 |
8.เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง,ภาพ |
97 |
110 |
95 |
-13.64 |
9.Power supply PC |
94 |
88 |
95 |
7.95 |
10.กล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง |
135 |
155 |
87 |
-43.87 |
รวมมูลค่าการส่งออกทั้งหมด |
4,300 |
4,610 |
4,122 |
-10.59 |
ที่มา: Global Trade Atlas
จากตารางมูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของออสเตรเลีย
10
อันดับแรก พบว่า การส่งออกของออสเตรเลียในปี 2020 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รวม 4,122
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีการหดตัวร้อยละ 10.59 ออสเตรเลียส่งออก Mobile
Telephone มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 มีมูลค่า 577
ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการหดตัวร้อยละ 8.56 อันดับ
2 ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีมูลค่าการส่งออก
426 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการหดตัวร้อยละ 11.06 และอันดับ 3 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด,Notebook,palm มูลค่าการส่งออก 420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการหดตัวร้อยละ
1.64
ตาราง มูลค่าการนำเข้ารายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 10 อันดับแรกที่ไทยนำเข้าจากออสเตรเลีย
ผลิตภัณฑ์ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
||
2018 |
2019 |
2020 |
2020/2019 |
|
1.เครื่องอุปกรณ์สําหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ |
2.23 |
25.53 |
21.17 |
-17.08 |
2.แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า |
6.11 |
11.91 |
15.43 |
29.55 |
3.มอเตอร์ไฟฟ้า |
2.02 |
1.70 |
3.55 |
108.82 |
4.วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated
Circuit) |
3.13 |
1.25 |
2.57 |
105.60 |
5.เครื่องอุปกรณ์สำหรับการส่งหรือการรับเสียง ภาพ |
5.68 |
5.06 |
2.33 |
-53.95 |
6.สายไฟฟ้า ชุดสายไฟ |
1.30 |
1.10 |
1.24 |
12.73 |
7.ลำโพง ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง หูฟัง
และส่วนประกอบ |
0.66 |
0.92 |
0.75 |
-18.48 |
8.เครื่องทำให้อากาศบริสุทธิ์ |
0.03 |
0.03 |
0.64 |
2033.33 |
9.ส่วนประกอบของเครื่องส่ง/เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ |
0.05 |
0.17 |
0.60 |
252.94 |
10.อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
0.92 |
0.77 |
0.44 |
-42.86 |
รวมมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด |
49.33 |
72.64 |
61.13 |
-15.85 |
ที่มา:
ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E
Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
จากตารางมูลค่าการนำเข้ารายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจากออสเตรเลีย
10 อันดับแรก แสดงให้เห็นว่า ในปี 2020 ไทยนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากออสเตรเลีย
คิดเป็นมูลค่านำเข้าทั้งหมด 61.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มีอัตราการหดตัวร้อยละ 15.85 โดยสินค้านำเข้าอันดับ 1 ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์สําหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
โดยมีมูลค่าการนำเข้า 21.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการหดตัวร้อยละ 17.08 อันดับ 2 ได้แก่ แผงสวิตช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า
โดยมีมูลค่าการนำเข้า 15.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 29.55 และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากออสเตรเลียมากเป็นอันดับ
3 ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีมูลค่า 3.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และมีอัตราการขยายตัวมากถึงร้อยละ 108.82 แต่มีมูลค่าการนำเข้าค่อนข้างน้อย
ตาราง มูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปยังออสเตรเลีย
ผลิตภัณฑ์ |
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
อัตราการขยายตัว (%) |
||
2018 |
2019 |
2020 |
2020/2019 |
|
1.เครื่องปรับอากาศ |
493.44 |
498.36 |
580.86 |
16.55 |
2.ตู้เย็น |
165.03 |
169.15 |
166.94 |
-1.31 |
3.เครื่องซักผ้า |
87.51 |
92.49 |
82.79 |
-10.49 |
4.อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
77.43 |
73.58 |
67.37 |
-8.44 |
5.เครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ |
59.32 |
56.74 |
58.54 |
3.17 |
6.กล้องถ่ายบันทึกภาพและส่วนประกอบ |
22.53 |
24.15 |
23.72 |
-1.78 |
7.เครื่องอุปกรณ์สำหรับการส่งหรือการรับเสียง ภาพ |
7.78 |
11.76 |
22.85 |
94.30 |
8.ตู้แช่ ตู้แช่แข็ง เครื่องอุปกรณ์ทำความเย็น |
20.69 |
25.86 |
22.80 |
-11.83 |
9.เครื่องคอมพิวเตอร์ |
9.02 |
63.36 |
22.12 |
-65.09 |
10.หม้อหุงข้าว เตาย่างและเตาอบย่าง |
16.92 |
14.28 |
20.52 |
43.70 |
รวมมูลค่าการส่งออกทั้งหมด |
1,154.18 |
1,234.24 |
1,260.60 |
2.14 |
ที่มา:
ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E
Intelligence Unit: EIU) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
จากตารางมูลค่าการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยไปยังออสเตรเลีย
10 อันดับแรก แสดงให้เห็นว่า ในปี 2020 ไทยส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไปยังออสเตรเลีย
คิดเป็นมูลค่าส่งออกทั้งหมด 1,260.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.14 โดยสินค้าส่งออกอันดับ
1 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าการส่งออก 580.86
ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 16.55 สินค้าส่งออกอันดับ 2 ได้แก่ ตู้เย็น มีมูลค่าการส่งออก 166.94
ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการหดตัวร้อยละ 1.31 และสินค้าส่งออกอันดับ 3 ได้แก่ เครื่องซักผ้า มีมูลค่าการส่งออก 82.79
ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการหดตัวร้อยละ 10.49
การวิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (Strength)
- ประชากรออสเตรเลียมาจากหลายชนชาติมีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม
ทำให้มีความต้องการที่หลากหลาย
- ประชากรมีอำนาจซื้อสูง
-
เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุที่สำคัญและอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก
- เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และมีเทคโนโลยีทันสมัย
จุดอ่อน (Weakness)
- ออสเตรเลียมีขนาดตลาดที่ไม่ใหญ่นักเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ
เนื่องจากมีจำนวนประชากรเพียง 24 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2560)
- มีการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป
จำนวนมากส่งผลให้มีการพึ่งพิงสินค้าจากไทยไม่มากนัก
- ประเทศมีอาณาเขตกว้างขวาง ทำให้ต้นทุนการขนส่งสูง
- ความแตกต่างทางด้านภาษา (ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ)
- ความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตอยู่ในระดับต่ำ
เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีราคาสูง (ค่าแรงงานและ ค่าวัตถุดิบ)
โอกาส (Opportunity)
- ข้อตกลง TAFTA เอื้อประโยชน์ต่อนักธุรกิจไทยในการเป็นเจ้าของธุรกิจในออสเตรเลียได้ง่ายขึ้น
- โดยเฉพาะธุรกิจสำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมเหมืองแร่
- มีการปรับลดข้อกีดกันทางด้านภาษีศุลกากร (tariff barrier) ภายใต้ข้อตกลง TAFTA ส่งเสริมโอกาสความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย
อาทิ ด้านปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความเชี่ยวชาญด้านนี้เหมือนกัน
โดยประเทศไทยสามารถเป็นแหล่งผลิตที่มีต้นทุนไม่สูง
ในขณะที่ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่ทันสมัย
- การแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีโดยเฉพาะภาคการเกษตร
-
ศักยภาพด้านการผลิตของออสเตรเลียที่ลดลงจะสร้างโอกาสให้ประเทศไทยสามารถส่งเสริมการย้ายฐานการผลิตจากออสเตรเลียไปประเทศไทย
- ชาวออสเตรเลียมีความชื่นชอบอาหารไทยและภาคบริการของไทย
ทำให้ธุรกิจร้านอาหาร นวด/สปา
และการค้าปลีก-ค้าส่งผลิตภัณฑ์ของไทยมีลู่ทางที่ดีในการทำธุรกิจในออสเตรเลีย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชาวออสเตรเลียมีอำนาจซื้อสูง และให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ
ธุรกิจไทยจึงควรคำนึงถึง คุณภาพของสินค้าและบริการเป็นหลัก
อุปสรรค (Threats)
- เนื่องจากออสเตรเลียประกอบด้วย 6 รัฐและ 2
เขตการปกครองที่มีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรัฐบาลของแต่ละรัฐต่อพื้นที่
- ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่ผันผวนจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
- ออสเตรเลียมีมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดมาก ได้แก่
กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมายควบคุมด้านอาหาร เป็นต้น
- ออสเตรเลียออกมาตรการการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศบางประเภท โดยเฉพาะสินค้าเกษตร
แปรรูป
สถานการณ์การลงทุน
ข้อมูลจาก BOI ในปี พ.ศ. 2563 (มกราคม-มิถุนายน)
ออสเตรเลียยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย จำนวน 9 โครงการ มูลค่าประมาณ 101 ล้านบาท
การลงทุนของออสเตรเลีย
ในปี 2019 ที่ผ่านมา
ออสเตรเลียมีการลงทุนจากต่างชาติ มูลค่า 36,156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และออกไปลงทุนในต่างประเทศ 5,397 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตาราง
มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติของออสเตรเลีย
Foreign Direct Investment |
2017 |
2018 |
2019 |
FDI inflows (Millions of dollars) |
45,303 |
68,048 |
36,156 |
FDI outflows (Millions of dollars) |
5,932 |
6,362 |
5,397 |
FDI inward stock (Millions of dollars) |
662,296 |
682,866 |
714,249 |
FDI outward stock (Millions of dollars) |
460,641 |
490,986 |
579,257 |
ที่มา: UNCTAD, 2020
โอกาสทางการค้า
1. เนื่องจากชาวออสเตรเลียนิยมอาหารเอเชียมากขึ้น
อีกทั้งประชากรที่มีเชื้อสายเอเชียขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยกระแสความนิยมอาหารเอเชียที่เพิ่มมากขึ้นจึงส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารเอเชีย
อาทิ ร้านอาหารไทย จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม และเกาหลี มีการขยายตัว
ความนิยมอาหารไทยและความสำเร็จของกิจการร้านอาหารไทยเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อความต้องการข้าวไทยของออสเตรเลีย
ดังนั้น
ไทยจึงควรส่งเสริมการส่งออกข้าวไทยไปยังออสเตรเลียให้มากขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร
2. การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนระหว่างออสเตรเลียกับไทยนั้น
ออสเตรเลียเปิดให้ไทยสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ร้อยละ 100 ยกเว้น ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ
และท่าอากาศยาน ดังนั้น
จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนทำธุรกิจในประเทศออสเตรเลียในสาขาบริการที่ออสเตรเลียมีความต้องการ
อาทิ ร้านอาหารไทย และนวดแผนไทย
3. ออสเตรเลียเป็นประเทศที่สามารถผลิตสินค้านมและผลิตภัณฑ์ได้ด้วยต้นทุนต่ำและมีคุณภาพ
การทำ FTA กับประเทศออสเตรเลียจึงเป็นโอกาสให้ภาคธุรกิจไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวได้ในราคาต่ำ
และช่วยให้ผู้บริโภคภายในประเทศได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก อย่างไรก็ตาม
ภาครัฐต้องมีมาตรการที่ช่วยคุ้มครองไม่ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยได้รับผลกระทบมากนัก
4. สินค้าไทยที่ได้ประโยชน์จากการส่งออกไปออสเตรเลียประกอบด้วย อาทิ
ยานยนต์และอุปกรณ์ ยางรถยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก
สิ่งทอและเสื้อผ้า ปลาทูน่าแปรรูป เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ โพลิเอทิลีน
ผักและผลไม้สด สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด อาหารสำเร็จรูป
และสินค้านำเข้าจากออสเตรเลียที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตในประเทศ อาทิ ถ่านหิน
มอลต์ไม่ได้คั่ว สิ่งสกัดจากมอลต์ และอะลูมิเนียม
ปัญหาและอุปสรรคการค้า
1. กฎหมายควบคุมคุณภาพอาหารตาม Australian Food Standard Code ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการกักกัน (Quarantine) และตรวจสอบ
(Inspection) คุณภาพอาหารนำเข้ามีความเข้มงวด
ได้มีการแบ่งประเภทอาหารออกเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง กลาง และต่ำ
ซึ่งหากตรวจพบว่าผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด จะมีการส่งสินค้ากลับหรือทำลาย
ทำให้ต้นทุนสินค้าสูง
2. การเคลื่อนย้ายบุคลากรติดปัญหาเงื่อนไขที่เข้มงวด
ค่าใช้จ่ายสูงในการสอบภาษาอังกฤษสำหรับชาวไทยรวมทั้งช่างฝีมือที่จะเข้าไปทำงานในออสเตรเลีย
รวมถึงปัญหาการออก Visa หรือ Work Permit ที่มีขั้นตอนยุ่งยาก
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.ditp.go.th
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.dtn.go.th
Global Trade Atlas.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.gtis.com/gta
ข้อมูลบริษัทในออสเตรเลีย.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
https://www.ventureoutsource.com
ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EIU).(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก eiu.thaieei.com
เลขที่ 57 ชั้น 6 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ถนน พระสุเมรุ (บางลำภู) เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : (66) 02-280-7272
Fax : (66) 02-280-7277, (66) 02-280-7273ที่ 57 ชั้น 6 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ติดต่อเรา